9 องค์ประกอบของการพัฒนาความเร็วเว็บไซต์ (Page Speed)

การปรับปรุงเว็ปไซต์ให้โหลดเร็วด้วยขั้นตอนดังนี้

มีประโยชน์ในแง่ของการทำ SEO และมีผลต่อการค้นหาบนหน้า google

หากต้องการเพิ่มยอดขายบนโลกออนไลน์ และจากสถิติพบว่า 73% ของจำนวนผู้คนเข้าเว็ปไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือ จะปิดเว็ปนั้นทันที่หาดโหลดช้าเกิน 3 วินาที เว็บไซต์โหลดเร็วจะส่งผลดีต่อ SEO ส่งผลดีต่อ USER และรู้สึกดีต่อเว็บไซต์เราเปิดโอกาสปิดการขายและมีโอกาศที่ลูกค้าจะซื้องานจากเราก็มีมากขึ้น

Google Page Speed คะแนนสูง : โหลดเร็ว คุณจะเลือกแบบไหน ?

เว็บไซต์เปิดเร็ว เกิดความรู้สึกประทับใจ กับเว็บไซต์ที่ได้คะแนนสูงจาก Google Page Speed สูงๆ แต่โหลดช้ามาก จะดีกว่าไหมหากคุณเลือกทำให้เป็นเรื่องเดียวกัน จะต้องปรับอะไรบ้าง ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง ให้เว็บเร็ว แรง คะแนนสูง

องค์กระกอบของการพัฒนาความเร็วเว็บไซต์ มีอะไรบ้าง ?

1. การเลือกใช้เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ที่มีคุณภาพ

ทดสอบการใช้งาน ดูคะแนนสปีทโดย www.pagespeed.web.dev ได้ก่อนตัดสินใจเช่า ซื้อโฮสติ้ง

2. เลือกธีมที่มีคุณภาพ หากไม่ทราบจะเลือกใช้ตัวไหนดี ?

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับมือใหม่ให้เลือกธีม Best seller หรือเลือกจากการใช้งานธีมที่สะดวกใช้งานมีความคุ้นเคย มียอดคนใช้งานตัวเลขจำนวนเยอะก่อน

3. เลือกใช้ปลั๊กอิน (Plugin) เท่าที่จำเป็น

เว็บช้า-เร็ว ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ปลั๊กอินด้วย และด้วยปลั๊กอินมีจำนวนมาก จึงมีปัญหาการเลือกใช้งานที่เหมาะสม

3.1 หลักการเลือกใช้งานปลั๊กอิน

เว็บช้า-เร็ว ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ปลั๊กอินด้วย และด้วยปลั๊กอินมีจำนวนมาก จึงมีปัญหาการเลือกใช้งานที่เหมาะสม

  • ห้ามใช้ปลั๊กอิน เพราะเห็นว่าเค้าใช้กันเด็ดขาด เราต้องศึกษาว่าปลั๊กอินที่จะนำมาใช้ในเว็บไซต์เรา มีหน้าที่และทำประโยชน์อะไรให้เราได้บ้างก่อน หากยังไม่ทราบอย่าเพิ่งโหลดเข้า หรือปรับแต่งให้หมาะสม จะกลายเป็นขยะที่ไม่จำเป็นทำให้เว็บไซต์โหลดช้าโดยไม่จำเป็น
  • ใช้ปลั๊กอินเท่าที่จำป็นเท่านั้น ศึกษาเรียนรู้ฝึกใช้ธีม Theme option ที่คุณเลือกให้เต็มประสิทธิภาพ หลายคนใจร้อนไม่ศึกษาฟังชั่นต่างๆของธีมให้ดีก่อน เช่น บางธีมมี option สร้างรูปภาพแบบ Slider ได้เองโดยไม่ต้องโหลด Plugin Slider มาซ้ำอีกแบบนี้เรียกว่าเกินความจำเป็น
  • ปลั๊กอินที่เป็น Third party ที่ต้องโหลด script มาจากเว็บอื่นเพื่อให้มาแสดงบนเว็บไซต์เราต้องเลือกใช้ให้น้อยที่สุด พวกนี้จะทำให้เว็บเราโหลดช้า เช่นพวกปลั๊กอิน Live chat หรือปลั๊กอินโชว์สถิติคนเข้าเว็บไซต์ เป็นต้น

4. การทำ Page Caching

Cache คือส่วนของข้อมูลที่ถูกเก็บซ้ำไว้มรคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในงานครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเรียกข้อมูลจากแหล่งกำเนิดอีกครั้ง เมื่อแคชถูกสร้างขึ้นการเรียกใช้ข้อมูลในครั้งต่อไปจะถูกอ่านข้อมูลจากแคช แทนที่จะอ่านข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้งาน

5. Cleaning Database ทำความสะอาด Database

โดยพื้นฐานของ WordPress ตั้งแต่การติดตั้งครั้งแรกจนถึงตอนใช้งานต่างๆ การติดตั้งปลั๊กอิน ลงธีม เขียนบทความทุกครั้งที่มีการแก้ไข ทุกอย่างล้วนแล้วถูกเขียนลงในฐานข้อมูลของ WordPress ทั้งสิ้น ยิ่งนานฐานข้อมูลยิ่งหนาขึ้น บวมขึ้น ทั้งๆที่ข้อมูลในเว็บไซต์มีไม่มาก

6. Minification / Concatenation

ลดขนาดของ CSS, JavaScript และ HTML คือการลบโค้ดที่ไม่จำเป็น ลบช่องไฟ การเว้นบรรทัด เป็นต้น เพื่อให้เว็บของเราโหลดเร็วที่สุดนั่นเอง

7. GZIP Compression

โปรแกรมบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง และขนาดไฟล์หน้าเพจนั้นๆ ทำให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้น เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีข้อมูลหน้าเพจจำนวนมาก เกิน 10 หน้าขึ้นไป ลดการทำงานในการโหลดข้อมูลของ server & client เมื่อเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น เป็นที่หน้าพอใจต่อ USER ลดแบนด์วิธ

ก่อนที่จะทำ GZIP COMPRESSION นั้นเราต้องตรวจสอบ Server หรือ Hosting สามารถรองรับ Options 2 ตัวนี้ mod_deflate และ mod_gzip โดยทัวไปแล้วใน Hosting ที่เราใช้บริการทั่วไปจะเปิดให้ใช้งานทั้ง 2 Options นี้อยู่แล้ว

การบีบอัดเว็บไซต์ที่ดีควรมีหน้าเพจใช้พื้นที่ไม่เกิน 1 MB. จะเป็นผลดีทำให้เว็บไม่โหลดช้า เป็นที่พอใจของ USER

8. Lazy Load

คือการเรียกข้อมูลให้แสดง โหลดหน้าเว็บไซต์แบบประหยัดให้โหลดเว็บได้เร็วขึ้นสูงสุดได้ถึงเท่าตัว รวมถึงประโยชน์ต่อการใช้งานโดยเฉพาะบางหน้าเว็บไซต์ที่ค่อนข้างยาวLazy Load จึงเป็นคำเรียกในการจัดการ (Resource) บนเว็บเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานและลดการใช้งานหน่วยความจำเครื่อง Client และการโหลดข้อมูลจากฝั่ง Server ให้ใช้งานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

เช่น การโหลดภาพจากมือถือ ให้โหลดที่ละส่วน โดยไม่ต้องโหลดพร้อมกันทั้งเว็บไซต์

9. Image optimization

คือ การบีบขนาดภาพให้เล็กที่สุด คุณควรทำไฟล์ภาพประกอบเรื่องให้มีขนาดเล็กเท่าที่จะเล็กได้ ขอแนะนำให้ไฟล์ภาพไม่ควรใหญ่เกิน 100-200 kb รวมถึงขนาด กว้างxยาวxสูง และไม่ควรใช้ภาพประกอบที่มีขนาดใหญ่เกิน Dimension ที่เราออกแบบ

สรุป องค์กระกอบของการพัฒนาความเร็วเว็บไซต์ที่ดี มีประโยชน์ต่อ USER

  • เป็นเรื่องของความเข้าใจ และการปรับแต่งพัฒนารูปแบบทางเทคนิคโดยเฉพาะ
  • หากคุณทำเว็บไซต์ด้วย WordPress จะมีปลั๊กอินที่ซัพพอทการทำงานและช่วยปรับแต่งครบทั้งหมด แต่หากคุณได้ใช้ WordPress การทำให้คะแนน Google Page Speed สูงๆอาจจะทำได้ยาดกสักหน่อย
  • สิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่ความรู้สึกตอนเปิดเว็บไซต์จริงเป็นหลัก ถ้าไม่โหลดช้าเกิน 3 วิถือว่าใช้ได้แล้ว
  • คะแนนที่ Google Page Speed ควรทำให้ได้ 60% ก็จะส่งผลดีต่อการทำ SEO ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งเป็นผลดีต่อเว็บไซต์
  • Google Page Speed เป็นเพียง 1 ปัจจัยจากหลายร้อยหลักการและเหตุผลของ google เท่านั้น แต่การนำมาใช้วัดผลงานก็สิ่งที่ดีไม่น้อยเช่นกัน