กระป๋องอลูมิเนียม น้ำทะเล และคาเฟอีน สร้างก๊าซไฮโดเจนได้


งานวิจัยจากสถาบัน MIT ที่สามารถผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน


กระป๋องน้ำอัดลม (อลูมิเนียม) น้ำทะเล และคาเฟอีน

โดยนำกระป๋องน้ำอัดลม ผสมกับโลหะผสมพิเศษ และหยดน้ำทะเลลงไป จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกลายเป็นก๊าซไฮโดนเจน นอกจากนี้ถ้าเติมน้ำคาเฟอีนลงไปจะทำให้เร่งปฏิกิริยาให้ผลิตไฮโดรเจนได้เร็วกว่าเดิมจาก 2 ชั่วโมงเหลือเพียง 5 นาทีเท่านั้น ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าจะต่อยอดและใช้งานได้จริงหรือไม่

กระป๋องอลูมิเนียม น้ำทะเล และคาเฟอีน สร้างไฮโดเจนได้ สุดยอด

ไปดูงานวิจัยจากสถาบัน MIT ที่สามารถผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ได้จาก 3 สิ่งนี้

กระป๋องโซดา น้ำทะเล และคาเฟอีน สร้างไฮโดเจนได้

ต่างประเทศให้การยกย่องนี่คือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ แต่เดิมวิธีการที่จะได้มาเป็นเชื้อเพลิง ไฮโดรเจนเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง เราจะใช้อุปกรณ์ที่เป็นไฮโดรเจนที่มีอยู่ในตัว เช่นน้ำคือ H2O เราก็เอาน้ำมาแยกออกซิเจนกับไฮโดรเจนออกจากกัน เราก็จะได้ไฮโดรเจน ซึ่งในกระบวนการผลิตนี้มีต้นทุนที่สูงมาก และมีปัญหาและอุปสรรคมากเช่นกัน คุณจะต้องมีถังเก็บก๊าซขนาดใหญ่ หรือคุณต้องขนน้ำจำนวนมากเพื่อไปแยกธาตุออก ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก

สถาบันเทคโนโลยี MIT (Massachusetts Institute of Technology) มีงานวิจัยจากวิศวกรของทางสถาบัน ค้นพบว่าเมื่ออลูมิเนียมบริสุทธิ์จากกระป๋องโซดา สัมผัสกับน้ำทะเลมันจะทำให้เกิดฟองอากาศ และฟองที่ผุดขึ้นมานั้น คือ ไฮโดนเจนจากธรรมชาติ ซึ่งก๊าซประเภทนี้เรานำมาทำเป็น

เชื้อเพลิงได้ในภายหลังและจัดว่าเป็นก๊าซบริสุทธิ์ที่ดีมากๆ นอกจากนี้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญซึ่งเป็นปฏิกิริยาพื้นฐานนี้สามารถเร่งให้เกิดเร็วขึ้นเมื่อใช้สารกระตุ้นที่เป็นคาเฟอีน นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าพวกเค้าสามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ โดยการหยดเม็ดอลิเนียมขนาดเท่าก้อนกรวดที่ผ่านการบำบัดแล้วและผ่านการทำให้บริสุทธิ์แล้วลงในบิ๊กเกอร์ที่มีน้ำทะเลอยู่ อลูมิเนียมเหล่านี้ได้มีการเตรียมล่วงหน้าด้วยการเป็นโลหะผสมที่ขัดให้อยู่ในรูปอลูมิเนียมที่บริสุทธิ์ที่สุดเป็นการทพปฏิกิริยากับน้ำทะเลเร็วท่สุดเพื่อสร้างไฮโดรเจนได้

ไอออนของเกลือในน้ำทะเลมันสามารถดึงดูดและนำเอาโลหะผสมกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งหลักการนี้เราสามารถเอาเม็ดอลูมิเนียมมันกลับมาใช้ใหม่แล้วก็สร้างไฮโดรเจนได้มากยิ่งขึ้น ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Report Physical Science Journal ทีมงานวิศวกรของ MIT ค้นพบว่าปฏิกิริยาระหว่างอลูมิเนียมกับน้ำทะเลสามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้สำเร็จ

ถึงแม้มันจะผลิตได้ช้าก็ตาม ในขณะเดียวกันช่วงของการทดลองบังเอิญมีการโยนกากกาแฟลงไปผสมแล้วก็พบว่ามันมีปฏิกิริยาที่เร็วขึ้น นั่นหมายความว่าคาเฟอีนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งความเข้มข้นต่ำของอิมมีดาโซ่ ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในคาเฟอีน เพียงพอที่จะเร่งปฏิกิริยาได้อย่างมีนัยยะสำคัญ โดยผลิตไฮโดรเจนออกมาปริมาณเท่ากันในเวลาเพียง 5 นาที และหากไม่ใช้สารกระตุ้นอิมมีดาโซ่ในคาเฟอีนจะต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง

อลูมิเนียมบริสุทธิ์กับน้ำทะเลแล้วก็ใช้คาเฟอีนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเราจะสามารถทำเชื้อเพลิงให้กับเรือเดินสมุทร หรือยานพาหนะที่อยู่ในทะเลได้ เพราะสามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้เลยโดยไม่ต้องมีถังบรรจุก๊าซไฮโดรเจนขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่ขาดใหญ่อีกต่างหาก ผลิตไปใช้ไปในระหว่างทางได้เลย

ในลำดับถัดไปของการทดลอง จะเป็นเรือที่บรรจุเม็ดอลูมิเนียมบริมุทธิ์ ซึ่งเป็นการรีไซเคิลจากกระป๋องอลูมิเนียมเก่า และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมที่ใช้แล้ว มีส่วนผสมแกเลี่ยมและอินเลี่ยม และก็ใส่คาเฟอีนจำนวนเล็กน้อย มันจะเป็นเครื่องปฏิกรณ์ในนั้นอยู่แล้ว แล้วก็เติมเม็ดอลูมิเนียมบริสุทธิ์นี้ลงไปเพื่อให้มันสร้างเป็นก๊าซไฮโดรเจนแล้วก็เอาไปใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้า ขัยเคลื่อนเรือได้

งานวิจัยนี้จะถูกใช้กับยานพาหนะในทะเลก่อน คุณสามารถเอาน้ำทะเลเข้ามาทำในระบบได้ทันที และเมื่อน้ำทะเลเสื่อมสภาพลงคุณก็ถ่ายน้ำทะเลนั้นทิ้ง แล้วก็ดึงน้ำทะเลมาใหม่ได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งที่ต้องใช้ไฮโดรเจนในทะเลก่อน ซึ่งเรานำทฤษฎีนี้ไปใช้กับเรือก่อน เรือก็สามารถมีเชื้อเพลิงวิ่งไปเรื่อย ๆ เดินทางไกลโดยที่ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง

ถือว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่ต้องมีการพัฒนากันต่อไป หากประสบความสำเร็จต่อไปเราก็จะสร้างก๊าซไฮโดรเจนมีพลังงานเชื้อเพลิงได้ง่ายขึ้น FCEV มันก็จะมีต้นทุนของก๊าซไฮโดรเจนราคาถูกลง โอกาสที่จะถูกนำมาใช้ในยานพาหนะบนบก หรือสิ่งต่างๆก็จะมีประโยชน์มากขึ้น เป็นค้นพบแนวคิดแบบใหม่ คล้ายๆกับ Back to the future สุดท้ายแล้วก็สร้างพลังงานให้กับยานพาหนะต่างๆ

E-Waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าที่คิด ด้วยปริมาณของ E-Waste ทั่วโลกที่มีถึง 57.4 ล้านตัน และกว่า 82.6% ยังทิ้งและถูกกำจัดแบบ ผิดวิธีทำให้เกิดสารพิษตกค้าง มีผลกระทบต่อร่างกาย และส่งผลโดยตรงต่อสภาวะโลกเดือด นี่แหล่ะภัยร้ายจัวจริง และที่น่ากลัวกว่านั้นคือ ภัยร้ายเหล่านั้นมันอยู่ในบ้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นมือถือเก่า แท็บเล็ตที่เสีย สายชาร์จชำรุด หูฟังที่พังแล้ว หรือแม้แต่อะไหล่ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เชื่อว่าทุกบ้านต้องมีแน่นอน AIS ชวนทุกคนนำขยะ E-Waste มาฝากทิ้งกับ AIS Shop และจุดรับทิ้งกับพาร์ทเนอร์กว่า 2,700 จุด ทั่วประเทศ หรือจะฝากทิ้งกับไปรษณีย์ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/ais-ewaste/overview?fbclid=IwY2xjawEuVghleHRuA2FlbQIxMAABHeTPsbRmO5tHKHXUSxrp2UyjM5LxwMeUb24Z68oZkeWx0uQNTDovsj4IZA_aem_vIHCSwegdD_yO-hbs9bATg